CALL US TODAY

+66-2-104-9153

Weekdays

09:30 ~ 18:00

Smart factory Transformation

เส้นทางสู่ความสำเร็จของการทำ Smart factory เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรสู่ระดับโลก

องค์กรของคุณกำลังกำหนดเป้าหมายเพื่อพัฒนาสู่ smart factory อยู่ใช่ไหม?

4 เป้าหมายหลัก เพื่อมุ่งสู่

Smart Factory

Operational efficiency

การทำ Smart factory ทำให้สามารถนำข้อมูลจากกระบวนการผลิตมาวิเคราะห์ได้แบบ real-time ด้วยระบบที่เชื่อมต่อกันทั้งหมด ช่วยลดงาน manual ลดการทำงานซ้ำซ้อน และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในภาพรวม

Cost optimization

การนำเทคโนโลยี smart factory ช่วยให้สามารถบริหารการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตได้อย่างแม่นยำแบบ real-time ลดการใช้แรงงานที่มากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในด้านดำเนินการในภาพรวมลดลง

Quality enhancement

ด้วยการประยุกต์ระบบเซ็นเซอร์, IIoT และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ real-time ในการทำ smart factory จะช่วยควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอได้ตั้งแต่ต้นทางผ่านการตรวจจับและแก้ไขข้อบกพร่องได้แบบ real-time ส่งผลให้ลดการสูญเสีย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย zero-defect

Market responsiveness

Smart factory transformation ช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่อ demand ของตลาด, ความต้องการของลูกค้า, และแนวโน้มของอุตสาหกรรม ได้อย่างทันท่วงที

ประยุกต์หลักการทำ smart factory ให้เหมาะสมกับบริบท และ ความต้องการขององค์กร แม้ว่าการพัฒนานั้นจะเป็นเพียงการปรับปรุงขนาดเล็กที่ลงทุนไม่มาก แต่ก็สามารถให้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจได้เช่นกัน

ประโยชน์หลักๆที่จากการปรับปรุงพัฒนาองค์กรเพื่อเป็น smart factory ในแต่ละขั้นการพัฒนา

ดาวน์โหลดตัวอย่างกรณีศึกษาในการพัฒนาองค์กรสู่ smart factory

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้บริษัทส่วนใหญ่ไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรสู่ smart factory

จากผลสำรวจพบว่า มากกว่า 90% ของผู้ผลิตมีความต้องการที่จะเป็น "Smart factory" เพื่อรับมือกับความท้าทายและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร อย่างไรก็ตาม มีเพียง 30% เท่านั้นที่ยังคงดำเนินการอยู่ และ 10% ได้ล้มเลิกความพยายามไปแล้ว

60% ของผู้ผลิตไม่ประสบความสำเร็จในการแปลงองค์กรให้เป็น smart factory

4 เหตุผลหลักที่ทำให้หลาย ๆ บริษัทไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรสู่ Smart factory

1. Unclear Top-Down Direction

หลาย ๆ บริษัทมีความไม่ชัดเจนในทิศทางขององค์กร ทำให้แต่ละหน่วยงานต่างแยกกันดำเนินโครงการปรับปรุงพัฒนาของตนเองโดยไม่ได้ดูภาพรวมของทั้งองค์กร ส่งผลให้การพัฒนาขาดความเชื่อมโยงไปถึงเป้าหมายหลักขององค์กร อีกทั้งผลลัพธ์ที่ได้ก็จะอยู่ในวงจำกัดเฉพาะพื้นที่ที่หน่วยงานตัวเองดูแล ทำให้พลาดโอกาสในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด

2. Unclear Impact and Investment

หลายครั้งที่ผู้บริหารไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสามารถตัดสินใจการลงทุนที่สำคัญๆได้ เนื่องจากขาดการประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือ หรือในบางโครงการที่ลงทุนไปแล้วกลับพบว่ามีค่าใช้จ่ายแอบแฝงอีกหลายๆอย่างที่สุดท้ายแล้วไม่บรรลุผลลัพธ์ของการลงทุนตามที่ต้องการ รวมถึงไม่สามารถบำรุงรักษาระบบให้ใช้งานได้เป็นปกติ และกลายเป็นการลงทุนที่ล้มเหลวในที่สุด

3. Lead by Technology, Not Business

บางบริษัทมุ่งเน้นที่จะนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้ โดยไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบ และความจำเป็นทางธุรกิจอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นการลงทุนที่มากเกินความจำเป็น และไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

4. Lack of Continuity

บางกรณีพบว่าไม่มีการกำหนดผู้รับผิดชอบโครงการอย่างเป็นทางการ (PIC) เพื่อสร้างเป็นทีมบริหารโครงการที่จะสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมเดียว รวมไปถึงขาดการบริหารความคืบหน้าของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งทีเกิดขึ้นคือ หลายๆหน่วยงานจะทำโครงการปรับปรุงพัฒนาแต่ของตนเอง ส่งผลให้เกิดงานที่ซ้ำซ้อน อีกทั้งยัง ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรในภาพรวมขององค์กรที่ไม่คุ้มค่า สุดท้ายจึงเกิดเป็นความล่าช้าในการที่จะบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาสู่ smart factory

คุณต้องการที่จะพูดคุยเพิ่มเติมเกี่ยวกับความท้าทายที่องค์กรของคุณกำลังเจออยู่หรือไม่?

ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จของการทำ smart factory

4 ปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จที่จะนำพาองค์กรผ่านทุกอุปสรรคของการทำ smart factory โดยมุ่งเน้นความสำคัญของการวางกลยุทธ์ มุ่งมั่นไปที่เป้าหมาย และเดินตามแผนที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในระยะยาวขององค์กร

1. Lead by Business Objectives

ขับเคลื่อนโครงการ smart factory ที่นำด้วยมุมมองด้านประโยชน์ทางธุรกิจ ผ่านการกำหนดนโยบายและกระบวนการทำงานที่เหมาะสม ก่อนที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกการลงทุน จะเกิดประโยชน์ทางธุรกิจ และด้วยหลักการนี้จะช่วยป้องกันการสูญเสียเงินลงทุนเพื่อเทคโนโลยีที่ไร้ประโยชน์กับธุรกิจได้

2. Strategize, Prototype, and Expand

สิ่งที่ควรทำก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนทรัพยากรจำนวนมาก คือการจัดทำแผนแม่บทที่จะนำพาไปถึงเป้าหมายในระยะยาวขององค์กร จากนั้นจึงเริ่มต้นทำตามแผนจากการทำโปรเจคตัวต้นแบบเพื่อให้ยืดหยุ่นต่อการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์จริง และเรียนรู้ผลลัทธ์ความสำเร็จ และและอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของโปรเจคต้นแบบ เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถขยายผลไปทั้งองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

3. Identify Objective KPIs for Masterplan

สำหรับการสร้างแผนแม่บท ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการกำหนด KPI ที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จในการทำ smart factory ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ:


1) นโยบายทางธุรกิจจากผู้บริหารระดับสูงและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ
2) การเปรียบเทียบเทียบผลการดำเนินงานกับคู่เทียบในอุตสาหกรรม และ
3) การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีต

4. Set Clear Transformation Team

จัดตั้งทีมงานที่สามารถให้เวลาได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้การดำเนินโครงการตามแผนแม่บทเกิดความต่อเนื่อง โดยทีมงานควรประกอบด้วยกลุ่มที่รวมคนที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายด้านเข้าด้วยกัน เช่น ด้านเทคโนโลยี, การดำเนินงาน, การบริหารโครงการ เพื่อให้ครอบคลุมทุกมิติในการพัฒนาองค์กรสู่ smart factory อย่างมีประสิทธิภาพ

ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการทำ smart factory ให้ประสบความสำเร็จ หรือต้องการข้อมูลกรณีศึกษาอื่นๆอีกหรือไม่?